1. โรคตาปลา แม้ไม่อันตราย แต่ก็สร้างความเจ็บได้พอสมควร
โรคตาปลาเป็นหนึ่งในโรคทางผิวหนัง ที่จะทำให้ผิวแข็งขึ้นและจะสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่เป็นได้ไม่น้อย ส่วนมากแล้วจะเกิดที่บริเวณเท้าเป็นส่วนใหญ่ เพราะจะเป็นจุดที่มีการเสียดสีของผิวหนังอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้ชั้นเนื้อเยื่อเกิดความหนาพร้อมนูนขึ้นมาจนมีลักษณะคล้ายกับตาปลา ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาผิวพรรณที่นอกจากจะสร้างความรำคาญและร่องรอยที่ไม่น่ามองแล้ว ยังทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ดีอีกด้วย
2. สาเหตุของการเกิด โรคตาปลา เกิดจากอะไร
สาเหตุของการเกิดตาปลาจะมาจากผิวหนังที่มีการเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือรองเท้า ในส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน จนกลายเป็นทรงกลมและมีลักษณะคล้ายกับตาปลาขึ้นมาอย่างชัดเจน โดยจะเป็นส่วนของหนังกำพร้าและหนังแท้ที่เกิดการยึดเกาะติดกัน เพราะเมื่อเกิดการเสียดสีมากขึ้นจะมีสารชนิดหนึ่งที่เชื่อมให้ทั้งชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ กลายเป็นเนื้อเดียวกันและถ้ามีการเสียดสีที่รุนแรงมากขึ้น อาจกลายเป็นตุ่มพองและเมื่อมีการกระตุ้นหนักขึ้นหรือการเสียดสีอย่างรุนแรง จะทำให้ชั้นผิวหนังที่เป็นคราบไคลต่าง ๆ เข้ามารวมกันและกลายเป็นผิวที่มีความหนา แข็ง คล้ายมีลิ่มอยู่ด้านในและอาจจะมีตุ่มน้ำใส ที่จะสร้างความรู้สึกเจ็บปวดเมื่อไปสัมผัสหรือโดนได้มากเลยทีเดียว ซึ่งการเกิดตาปลานั้นจะเน้นไปที่การเสียดสีของผิวหนัง จะไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการติดเชื้อ
3. อาการของ โรคตาปลา เป็นแบบไหน
เมื่อเกิดตาปลาขึ้น ขั้นแรกจะเป็นเพียงแค่ตุ่มใสที่คล้ายมีน้ำอยู่ด้านใน แต่เมื่อเจาะแล้วจะไม่มีน้ำออกมา แต่อาจจะกลายเป็นเลือดแทน เมื่อเกิดการเสียดสีของผิวหนังที่มากขึ้น อาจกลายเป็นก้อนกลมหรือก้อนที่มีความแหลมขึ้นมาได้ โดยจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ แข็งและเมื่อไปสัมผัสถูกตาปลาจะทำให้รู้สึกเจ็บได้ หรือถ้าเป็นการกดน้ำหนักลงบริเวณที่มีตาปลาจะทำให้รู้สึกเจ็บและแสบในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ถ้าไม่รีบรักษาและปล่อยให้เกิดการเสียดสี จนทำให้ตาปลาใหญ่ขึ้น อาจสร้างปัญหากดทับกระดูกและเส้นประสาท ดังนั้นเมื่อพบว่ามีตาปลาเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อนำออก
4. วิธีการดูแลรักษา โรคตาปลา ต้องทำอย่างไรบ้าง
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาตาปลา หรือเกิดแล้วต้องการดูแลให้ดีสามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าที่รัดแน่นจนเกินไป
- ทำความสะอาดผิวบริเวณเท้า พร้อมการขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
- ทำความสะอาดถุงเท้าและรองเท้าเสมอ
- ถ้าเกิดตุ่มตาปลาขึ้นให้ติดพลาสเตอร์แบบกรดซาลิไซลิก บริเวณตาปลาประมาณ 2-3 วัน แล้วแกะพลาสเตอร์ออก จากนั้นให้แช่เท้าด้วยน้ำอุ่น ตาปลาจะหลุดออกได้ง่ายขึ้น
- ใช้ยาสำหรับการกัดหรือกำจัดตาปลาออก โดยหยดที่บริเวณตาปลาประมาณ 1-2 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 25 วัน
- ถ้าต้องการวิธีที่เร็วขึ้น สามารถใช้การเลเซอร์หรือการผ่าตัดออกได้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องตาปลาและต้องการจะรักษาอย่างจริงจัง ควรรักษากับแพทย์ผิวหนังจะดีที่สุด ไม่ควรซื้อยามาใช้งานเอง เพราะอาจจะทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่บานปลายได้
5. Dsecret clinic คลินิกรับรักษา โรคตาปลา โดยแพทย์เฉพาะทาง
Dsecret clinic เข้าใจดีสำหรับทุกคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง โรคตาปลา เรารู้และเข้าใจสาเหตุของทุกปัญหา กรณีที่อาการของโรครบกวนการนอนหลับพักผ่อนหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกกังวลและอับอาย พยายามรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา เพียงคุณเข้ามาติดต่อสอบถาม หรือเข้ามาปรึกษาเราได้ฟรีที่ คลินิก Dsecret clinic เรามี
- แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญมีหมอที่เก่งโรคผิวหนัง โดยเฉพาะ
- ไว้พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาคุณในทุกๆ เรื่อง
- เพราะเราใส่ใจในความรู้สึกและปัญหาของคุณ
- เราพร้อมให้บริการที่ยอดเยี่ยม
- มีทีมงานคอยบริการคุณทุกคนอย่างดี
- ใส่ใจคนไข้ทุกคนไม่ว่าปัญหาของคุณจะเล็กมากแค่ไหน
- แต่นั้นคือเรื่องสำคัญของเราเสมอ
ขอบคุณที่ไว้ใจให้เราได้คอยดูแลคุณอย่างใกล้ชิด และเราจะตั้งใจในการบริการงานของเราให้ดีที่สุดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณมาหาเราแล้วได้แต่รอยยิ้มและความสุขกลับไป
6. ประสบการณ์ มากกว่า 15 ปีของ พญ. มริญญา ผ่องผุดพันธ์
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพบาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ผ่านการศึกษาจาก ( Education )
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
- Nail surgery training
- Laser expert training
- Hair expert training
- Boton university usa