” ฝ้า” รักษาได้ โดยแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง
กระแสผิวขาวใส ไร้ฝ้า กำลังมาแรง หลายคนหันไปพึ่งทางลัดด้วยการกินยาอันตรายต่าง ๆ หรือครีมทาฝ้า ที่โฆษณาชวนเชื่อว่า กินแล้วขาวใส แต่หารู้ไม่ว่าครีมหรือยาตัวนั้นอาจส่งผลกระทบที่มีอัตรายกว่าที่คุณคิดเป็นอย่างมาก หากว่าคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมีปัญหาฝ้ากวนใน เราขอแนะนำคลินิก “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” นำทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดย พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจแพทย์ ผ่านการศึกษาจาก (Education)
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
ประสบการณ์การทำงาน พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ที่พร้อมจะให้การดูแลคุณอย่างดีที่สุด แก้ไขได้ตรงจุด โดยที่ไม่ต้องเสียง อันตรายอีกต่อไป เป็นคลินิกที่ได้มาตรฐาน และขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
รู้ลึกเรื่อง “ฝ้า” สาเหตุและวิธีการรักษาที่ได้ผล
วันนี้เรา มีข้อมูลเกี่ยวกับ “ฝ้า” มาฝากทุกคน ตั้งแต่ฝ้าคืออะไร? ฝ้ามีกี่ชนิด? ฝ้าเกิดจากอะไร? และวิธีการป้องกันและรักษาฝ้า รวมไปถึงสมุนไพรรักษาฝ้า ไปดูเรื่องราวแบบเจาะลึกเกี่ยวกับเรื่อง “ฝ้า” พร้อมๆ กัน
ฝ้า คืออะไร?
“ฝ้า” หรือ “Melasma” เกิดจากการที่เซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิวหนัง หรือเม็ดสีเมลานินทำงานผิดปกติ โดยมักจะขึ้นเป็นวงเล็กๆ สีน้ำตาล ก่อน แล้วถ้าไม่หาทางหยุดฝ้า หรือป้องกัน ก็จะค่อยๆ ขยายเป็นปื้นและฝังลึกลงไปในเซลล์ผิว โดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้ม มักเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นฝ้ามากกว่าผู้ชายถึง 9 เท่า
สาเหตุที่ทำให้เกิด “ฝ้า”
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด “ฝ้า” คือ “แสงแดด” เพราะแสงแดดเข้ากระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ให้ผลิตเม็ดสีเมลานินซึ่งมีหน้าที่กรองรังสี UV เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดเป็น “ฝ้า”
“ฝ้า” มีกี่ชนิด?
ในทางการแพทย์ผิวหนัง สามารถแบ่ง “ฝ้า” ได้ 2 ประเภท คือ
- ฝ้าแดด เกิดจากรังสียูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด หลอดไฟ แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน
- ฝ้าเลือด เกิดจากความผิดปกติของเลือดลมและฮอร์โมน เกิดเป็นลักษณะผิวแดงง่ายเมื่อโดนความร้อนหรือแสงแดด
ติดต่อสอบถามรักษา ฝ้า คลิกที่นี่
วิธีการรักษา “ฝ้า”
1. การรักษา “ฝ้า” ด้วยเลเซอร์
การรักษา “ฝ้า” ด้วยเลเซอร์ เป็นวิธีการรักษาที่ค่อนข้างรวดเร็วกว่าและปลอดภัยกว่าการทา “ครีมทาฝ้า” ที่มีขายตามทั่วไป ซึ่งปัจจุบันก็มีการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ที่หลากหลายที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” เรามีหลายแบบเพื่อใช้ตามลักษณะของแต่ละคน เพื่อช่วยปรับสภาพหรือรักษาความผิดปกติของสีผิว เช่น
- เลเซอร์ระบบคิวสวิตช์ หรือ Q-switched Laser หรือ YAG Laser ที่ยิงลงไปบริเวณที่เกิดฝ้าโดยตรง และทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีด้วยความร้อน ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ให้ผลรวดเร็วและจัดการกับสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอได้ เลเซอร์ก็ยังไม่ใช่ทางเลือกแรกของการรักษาฝ้าในทางการแพทย์ เพราะผลของการรักษาจะทำให้ฝ้าจางลงเพียงชั่วคราวเท่านั้นและฝ้าสามารถกลับมาใหม่ได้ตลอดเวลา หรืออาจไม่ได้ผลในบางรายด้วยซ้ำ จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดนเฉพาะ ซึ้งที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” มีคุณหมอ พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจแพทย์ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ
2. การรักษา “ฝ้า” ด้วยการผลัดเซลล์ผิวหนัง
การผลัดเซลล์ผิวหนัง (Superficial Skin Peels) เป็นการใช้สารที่มีความเป็นกรดหรือสารฟอกขาว เช่น
- กรดไกลโคลิก หรือกรดซาลิซิลิก ช่วยเร่งให้ผิวเกิดการผลัดเซลล์ผิวหนังชั้นนอก คล้ายๆ กับการใช้เลเซอร์ เพื่อช่วยให้สีผิวมีความสม่ำเสมอมากขึ้น แต่ผลข้างเคียงของวิธีนี้คืออาจเสี่ยงกับการทำให้สีผิวเข้มมากขึ้น หน้าบาง หรือเกิดด่างขาว
ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลและควบคุมจากทางแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด ที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” มีทีมแพทย์คอยดูแลคุณอย่างใกล้ชิดและพร้อมให้คำแนะนำเพื่อให้การรักษาที่ตรงจุดโดยเฉพาะ
3. การรักษา “ฝ้า” ด้วยการทายา
การรักษา “ฝ้า” ด้วยการทายา จะได้ผลดีกับผู้ที่เป็นฝ้าตื้น แต่ต้องใช้เวลาตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไปจึงจะเห็นผล ยารักษาฝ้ามีหลายชนิด ได้แก่
- กลุ่มกรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์ (Topical Retinoids/Retinoic Acid)
- กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)
- กรดโคจิก (Kojic Acid)
- คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid)
ซึ่งความเข้มข้นของสารในครีมทาฝ้าจะมีปริมาณแตกต่างกันออกไป แต่ ไม่ควรไปซื้อยามาใช้เองนะคะ เพราะอาจทำให้ผิวหน้าเกิดแสบ แดง หรือลอกเป็นขุย ทาง “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” จะจ่ายยาโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยของคุณ
อันตรายกว่าที่คิด ยากินรักษาฝ้า
ยาที่อ้างว่ากินแล้วรักษาฝ้า คือ ตัวยาที่ชื่อ Tranexamic Acid ซึ่งมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเลือดไหลหยุดยาก หรือเลือดออกมากผิดปกติ ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในคนว่า ทำให้ผิวขาวขึ้น แต่มีการศึกษาในการรักษาฝ้าด้วยการฉีดยาเข้าผิวหนังบริเวณที่เป็นฝ้าแล้ววัดผลความพึงพอใจของผู้ทดลอง โดยไม่มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ในการตรวจวัดและการใช้ยารับประทานในการรักษาฝ้าก็มีผู้เข้าร่วมทดลองจำนวนน้อย จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า ยา Tranexamic Acid ที่อ้างว่ากินแล้วรักษาฝ้านั้น มีผลในการรักษาฝ้าและทำให้หน้าขาวใสได้จริง
ในทางกลับกัน ผลเสียจากการใช้ยา Tranexamic Acid
มีหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาจะทำให้เลือดเกิดเป็นลิ่มเลือดในร่างกาย ซึ่งอาจลอยไปตามกระแสเลือดและอุดตันเส้นเลือดต่าง ๆ ของอวัยวะสำคัญ เช่น
- หากอุดตันที่เส้นเลือดในสมอง จะทำให้เกิดอัมพาตหรือเสียชีวิต
- หากอุดตันที่ปอด จะทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิต
- หากอุดตันที่ตาหรือไต ก็ส่งผลให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น
- อาการปวดท้อง
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- เลือดจาง
- ปวดหัว
- อ่อนเพลีย และไม่มีแรงได้
ดังนั้นผู้บริโภคจึงไม่ควรซื้อยามากินเอง เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา ทาง “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” เราจึงไม่แนะนำให้คุณหายามาทานเองเพื่อใช้ในการรักษาฝ้าอย่างเด็ดขาด นอกจากจะไม่มีอะไรรับรองในการรักษาให้ฝ้าหาย ยังจะส่งผลเสียที่ร้ายแรงต่อร่างกายตามมาอีกด้วย
แอดไลน์ปรึกษาอาการ ฝ้า คลิกที่นี่
ครีมทาฝ้า อันตรายกว่าที่คิด
ครีมทาฝ้าที่ขายตามท้องตลาดบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการฝ้าได้ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการรักษาฝ้าอาจมีจำกัดซึ่งแตกต่างกับยารักษาฝ้า นอกจากนี้ยังมีครีมที่ขายตามท้องตลาดบางชนิดที่อาจมีอันตรายต่อผิวหนังได้เช่นกันโดยเฉพาะครีมที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา
ครีมทาฝ้าที่ไม่ผ่าน อย.
ครีมทาฝ้าที่ไม่ผ่าน อย. คือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการรับรองโดย อย. ทำให้ส่วนผสมที่อยู่ในตัวครีมอาจเป็นอันตรายได้ เช่น
- การผสมตัวยาเข้าไปในครีม
- การใช้สารต้องห้ามผสมลงไป
การทาครีมดังกล่าวเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนังได้
อันตรายของครีมทาฝ้าที่ไม่ผ่าน อย.
- เพิ่มโอกาสการติดเชื้อของผิวหนัง เช่น รา แบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น
- ผิวบางจนเห็นเส้นเลือดชัดเจน
- สีผิวขาวเกินในบางบริเวณ ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ
- เกิดรอยดำถาวร
ฝ้าแดด
ฝ้า กระ
ฝ้าเกิดจากอะไร
วิธีรักษาฝ้าให้หายขาด pantip
ฝ้าตรง โหนกแก้ม
อาการเริ่มต้นของฝ้า
หน้าเป็นฝ้า
ฝ้าแดดเป็นแบบไหน
ฝ้าเลือด ฝ้าฮอร์โมน
ฝ้าตรงโหนกแก้ม
เริ่มเป็นฝ้า
ฝ้าฮอร์โมน pantip
ฝ้า วัยทอง
สูตรรักษาฝ้า เร่ง ด่วน
ฝ้า ฮอร์โมน เป็นแบบ ไหน
ฝ้าเกิดจากอะไร
รักษาฝ้าที่ไหนดี 2564
หมอผิวหนังรักษาฝ้า
รักษาฝ้า ศิริราช pantip
คลินิกรักษาฝ้า ใกล้ฉัน
คลินิกรักษาฝ้า สมุทรปราการ
รักษาฝ้า ที่ไหน ดี pantip
รักษาฝ้าที่ไหนดี 2564 pantip
คลินิกรักษาฝ้า ปทุมธานี
|
วิธีรักษาฝ้าให้หายขาด pantip
สูตรรักษาฝ้าเร่งด่วน
วิธีรักษาฝ้าด้วยมะนาว
รักษาฝ้าวิธีไหนดีที่สุด
วิธีรักษาฝ้า กระ ให้หายขาดแบบธรรมชาติ
รักษาฝ้าด้วยวาสลีน
รักษาฝ้าที่ไหนดี
รักษาฝ้าแดด pantip
อาการเริ่มต้นของฝ้า
วิธีรักษาฝ้า กระ ให้หายขาดแบบธรรมชาติ
ฝ้าตรงโหนกแก้ม
วิธีรักษาฝ้าให้หายขาด pantip
ฝ้าฮอร์โมน
ฝ้าเกิดจากฮอร์โมน
สูตรรักษาฝ้าเร่งด่วน
ฝ้าเกิดจากอะไร pantip
วิธีรักษาฝ้าให้หายขาด pantip
สูตรรักษาฝ้าเร่งด่วน
วิธีรักษาฝ้า กระ ให้หายขาดแบบธรรมชาติ
รักษาฝ้า pantip
ยาสีฟันรักษาฝ้า
วิธีรักษาฝ้า กระ จุดด่าง ดํา แบบธรรมชาติ
อยากฝ้าหาย ทําไงดี
อาการเริ่มต้นของฝ้า
|