โรคลมพิษ ผื่นแดงนูนคัน รักษาได้โดยแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง

หากคุณเป็น ผื่นลมพิษ อาจจะไม่อันตรายเท่าไร แต่หากคุณเป็นโรคลมพิษนั้น อาจจะทำให้คุณเสียชีวิตได้แบบไม่รู้ตัว หากได้รับการรักษาแบบไม่ถูกวิธี หรือได้รับยาที่ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาคลินิกเพื่อรับการรักษา เราขอแนะนำ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” ที่มีแพทย์เฉพาะทาง นำทีมแพทย์โดย พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจแพทย์ บริการโดยทีมแพท มีประสบการณ์ทำงานมามากกว่า 15 ปีจากหลายสถาบัน เช่น

  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ

‘โรคลมพิษ’ ผื่นแดงบนผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม

ในชีวิตจริงนั้นมีความยากที่จะแยกระหว่างผื่นลมพิษกับโรคลมพิษ ตรงที่ว่าเมื่อผู้ป่วยทั่วไปมองเห็นผื่น ลักษณะนี้ก็จะมองกันว่าเป็นผื่นลมพิษมั้ง หรือบางคนอาจจะมองว่าอันนี้คือ เป็นโรคลมพิษรึเปล่า แล้วทำการไปซื้อยาแก้แพ้มากินเอง จนทำให้บางทีอาจจะลืมคิดไปว่า อะไรคือตัวกระตุ้นทำให้คุณเกิดผื่นขึ้นมาหรือมีการเห่อมากหรือเห่อถี่เป็นพิเศษ ใน 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ปรึกษาปัญหา ผื่นลมพิษ คลิกที่นี่

โรคลมพิษ คืออะไร?

“ลมพิษ (Urticaria) ” คือ ผื่นคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี ลักษณะลมพิษจะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย กระจายตามตัวแขนขา หรือบริเวณใบหน้า ซึ่งผื่นลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนในร่างกาย โดยมากมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นจะค่อยๆ จางหายไป บางรายอาจมีอาการถึงขั้นปวดท้อง แน่นจมูก หายใจติดขัด หรือบางรายอาจมีอาการรุนแรงมาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ประเภทของลมพิษ

ลมพิษนั้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย

  1. ลมพิษชนิดเฉียบพลัน มักมีอาการต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุที่เกิดได้ คือ จากการแพ้อาหาร, แพ้ยา, แมลงสัตว์กัดต่อย การติดเชื้อบางชนิด บางรายอาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น เช่น
  • แน่นหน้าอก
  • แน่นจมูก
  • ปวดท้อง
  • ความดันต่ำ
  • ปากและตาบวม
  • ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง
  1. ผื่นลมพิษชนิดเรื้อรัง มักจะแสดงอาการแบบเป็นๆ หายๆ อย่างน้อย 2 วัน/ สัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุจะแตกต่างจากลมพิษเฉียบพลัน โดยคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งไม่สามารถหาสาเหตุได้ เพราะอาจเกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย แต่สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้ลมพิษเรื้อรังเป็นมากขึ้น ได้แก่
  • ยาแอสไพริน
  • ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • ยาปฏิชีวนะ
  • ประจำเดือน
  • พักผ่อนไม่เต็มที่ เป็นต้น

ติดต่อสอบถามรักษา ผื่นลมพิษ คลิกที่นี่

สาเหตุและปัจจัยในการเกิดโรคลมพิษ

สาเหตุที่เกิดโรคลมพิษ และปัจจัยการเกิดได้จากหลายอย่าง อาจเกิดขึ้นจากการแพ้สารบางชนิดจากการรับประทาน เกิดจากการสัมผัส การสูดดม หรือจากการฉีดเข้าไปในร่างกาย ซึ่งสาเหตุสำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดลมพิษแบ่งได้ดังนี้

1.  อาหาร

ประเภทของอาหารที่ทำให้เกิดลมพิษมีมากมาย สามารถพบได้ เช่น

  • อาหารจำพวกโปรตีน เช่น กุ้ง ปลา หอย ไข่ ถั่ว นม หรือแม้แต่ผลไม้
  • สารปรุงแต่งอาหารหรือขนม เช่น สีผสมอาหาร โดยเฉพาะสีเหลืองหรือสีเขียวที่มักใช้สีประเภท Tartrazine จึงพบในพวกซ่าหริ่ม,ซาหริ่ม ขนมด้วง ข้าวพอง ฟักเชื่อม ชาจีน ขนมชั้น ถั่วกวน วุ้นหวานกรอบ ครองแครง อมยิ้ม ฝอยทองกรอบ
  • ผักและผลไม้บางอย่างที่มีสารประเภท Salicylate ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดลมพิษได้ เช่น แอปเปิล แตงกวา มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะนาว พริกไทย ส้ม เป็นต้น
  • อาหารและเครื่องดื่มที่มียีสต์ เช่น ขนมปัง เหล้า เบียร์

การแพ้จนเป็นลมพิษจากอาหารเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนั้นจึงควรสังเกตอย่างละเอียดและหาสาเหตุการแพ้จากการรับประทานอาหารดังกล่าว เพื่อการหลีกเลี่ยง

2.  ยา

เป็นสาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเกิดลมพิษ ซึ่งอาจเกิดทันทีภายหลังได้รับยาชนิดนั้น เช่น

  • ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะพวก เพนิซีลินซัลฟา
  • ยาแก้ปวด ยานอนหลับ
  • สารทึบแสงที่ใช้ในการตรวจทางเอกซเรย์
  • วิตามินบางชนิด

การแพ้หลังจากฉีดหรือรับประทานยาจะสังเกตได้ง่าย แต่บางรายอาจใช้เวลานานเป็นเวลา 7-10 วัน ซึ่งอาจสังเกตอาการแพ้ได้ยาก

3.  แมลง

อาจก่อให้เกิดลมพิษได้ทั้งจากการสัมผัสหรือการโดนกัดต่อย เช่น

  • จากการสัมผัส เช่น ไรแมว ไรสุนัข ไรนก และบุ้ง
  • จากการกัดต่อย เช่น ผึ้ง แตน ต่อ หมาร่า มดแดงไฟ มดตะนอย

ซึ่งบางครั้งอาจมีอาการรุนแรง ทั้งลมพิษ และบวมทั้งตัว หรือช็อก บางรายอาจเสียชีวิตในเวลาอันสั้นมากหลังถูกต่อย

4.  อากาศ

  • แสงแดด ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดลมพิษเมื่อถูกแสงแดดบางช่วงของวัน ซึ่งมีความยาวของคลื่นแสงเฉพาะ เมื่อถูกแสงแดดแล้วเกิดผื่นขึ้นมา อาจแก้ไขได้โดยหลีกเลี่ยงการออกแดดในเวลานั้นๆ หรือใช้ครีมกันแดด
  • ความเย็น เช่น เวลาถูกอากาศเย็น อาบน้ำเย็น ผู้ป่วยบางรายรับประทานน้ำแข็งอาจเกิด อาการบวมในบริเวณคอ หายใจลำบากได้ หรือเกิดจากการมีโรคบางอย่าง เช่น ซิฟิลิส หรือมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
  • สารในอากาศ เช่น ฝุ่นบ้าน เชื้อราในอากาศ เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ เมื่อสูดสารเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาจก่อให้เกิดลมพิษได้

5.  เหงื่อ

บางคนเกิดลมพิษภายหลังออกกำลังกายมาก หรือเหงื่อออกมาก ลมพิษชนิดนี้มักเป็นเม็ดเล็กๆ เกิดบริเวณแขน ขา มากกว่าบริเวณลำตัว

6.  อารมณ์และสภาพจิตใจ

ในบางรายเกิดลมพิษภายหลังมีอารมณ์ผิดปกติ จากความโกรธ เครียด กังวล มักเป็นลมพิษชนิดเรื้อรัง

7.  การขีดข่วน

เกิดจากแรงขูดบนผิวหนัง ผู้ป่วยบางรายมีผิวหนังไวต่อรอยขูดข่วนบนผิวหนัง ทำให้เกิดรอยนูนคันตามบริเวณที่ถูกรอยขูดข่วนภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที การคันและเกาก็ยิ่งเพิ่มรอยและคันมากขึ้น

8.  โรคติดเชื้อ

สามารถก่อให้เกิดลมพิษได้เช่นกัน

  • พยาธิในลำไส้เป็นสาเหตุได้บ่อย เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวแบน เชื้อบิด
  • การติดเชื้อในส่วนอื่นของร่างกาย เช่น เชื้อราใน ช่องคลอดสตรี
  • ฟันผุก็อาจเป็นสาเหตุของลมพิษได้ การรักษาหรือถอนฟันผุออกก็อาจทำให้อาการลมพิษหายไปในผู้ป่วยบางราย

9.  โรคร่วมอื่นๆ

บางอย่างทำให้ผู้ป่วยเกิดลมพิษร่วมได้ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

หากมีอาการของโรคลมพิษเป็นระยะเวลานานหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น รวมถึงหลังจากที่ลองรักษาด้วยตัวเองโดยการทายาบริเวณที่เป็นลมพิษดูแล้วแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการหาสาเหตุและรักษา

การรักษาโรคลมพิษ

การรักษาโรคลมพิษ นั้นมีหลากหลายวิธี เราจะต้องเลือกรักษากับทีมแพทย์ที่มีความชำนาญการโดยเฉพาะ ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นอันตรายได้ ถ้าหากเรารักษาโรคนี้โดยผิดวิธี จะต้องปรึกษาแพทย์ในเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  1. พยายามหาสาเหตุ และรักษาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ ที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” จะมี

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น

  • ตรวจเลือด
  • ตรวจอุจจาระ
  • เอกซเรย์ปอด
  • ตรวจฟัน

การทดสอบภูมิแพ้

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยวิธีสะกิด (skin prick testing, SPT)
  • เจาะเลือดตรวจ serum specific IgE

การวินิจฉัยการแพ้อาหาร

  • เนื่องจากปฏิกิริยาต่ออาหาร อาจเกิดได้ทั้งกลไกที่เกี่ยวข้องกับ IgE (IgE-mediated) และกลไกที่ไม่เกี่ยวข้องกับ IgE (non-IgE-mediated reaction) ดังนั้น Gold standard ในการวินิจฉัยการแพ้อาหาร คือการทำ double-blinded, placebo-controlled food challenge (การทดลองกินอาหารแบบปกปิด)
  • การวินิจฉัยการแพ้อาหารที่เป็น IgE-mediated reaction ทำได้โดย skin prick testing หรือเจาะเลือดตรวจ serum specific IgE ซึ่งก็ต้องระมัดระวังในการแปลผลอย่างที่ได้กล่าวไป
  • ส่วนการตรวจ specific serum IgG ต่ออาหารนั้นไม่มีประโยชน์ และทำให้การแปลผลผิดพลาดได้
  1. ให้ยาต้านฮีสตามีน ยาต้านฮีสตามีนมีหลายชนิด หลายกลุ่ม มีทั้งที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว ทั้งที่ง่วงและไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาต้านฮีนตามีนตัวใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยบางรายใช้ยาเพียงตัวเดียวก็ได้ผลดี แต่บางรายแพทย์อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยาต้านฮีสตามีนในกลุ่มอื่น หรือใช้ยาหลายตัวร่วมกัน เพื่อควบคุมอาการ
  2. ยาอื่นๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ผื่นไม่ค่อยตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีน แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารสื่อกลางในผิวหนังที่เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดผื่นลมพิษ

แอดไลน์ปรึกษาอาการ ผื่นลมพิษ คลิกที่นี่

“Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” เราใส่ใจและห่วงใยคุณ

เนื่องจากลมพิษเกิดได้จากมากหมาย หลายสาเหตุ อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น การแพ้อาหาร ไปจนถึงอาจเป็นอาการร่วมของโรคร้ายบางอย่าง ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน ที่หาสาเหตุและแก้ไขได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่หาสาเหตุได้ไม่ชัดเจน ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง

Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinicแนะนำว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ที่ได้รับการสืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้เช่นเดียวกับกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าหาสาเหตุไม่พบหรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย โรคมักเรื้อรัง แพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป เพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษให้ได้ เมื่อควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะค่อยๆ ลดยาลงเพื่อควบคุมโรคในระยะยาว และพยายามหยุดยาถ้าทำได้ ผู้ป่วยบางรายโรคอาจเรื้อรังเป็นปี อย่างไรก็ตามผื่นลมพิษชนิดเรื้อรังส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรง ผู้ป่วยและญาติไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป ที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านผิวหนังและความงาม นำทีมโดย พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจแพทย์ ประจำศูนย์ศัลยกรรมและเวชกรรมเสริมสวย “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” โดยสมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย

ประสบการณ์การทำงาน พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ 

  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ

ผ่านการศึกษาจาก (Education)

  • Hair Restoration Training, Korea (2015)
  • Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
  • Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
  • Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
  • Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
  • Nail surgery training
  • Laser expert training
  • Hair expert training
  • Boton university usa

วิธีแก้ โรค ลมพิษ อย่าง ง่ายๆ
ลมพิษ กลางคืน
เป็นลมพิษห้ามกินอะไร
วิธีแก้ลมพิษ
ลมพิษกี่วันหาย
เป็น ลมพิษ ขาดวิตามิน อะไร
ลมพิษ Pantip
รูปลมพิษ
เป็น ลมพิษ ตอนกลางคืน เกิดจากอะไร
เป็นลมพิษห้ามกินอะไร
ลมพิษเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร
ลมพิษ กลางคืน
วิธีแก้ โรค ลมพิษ อย่าง ง่ายๆ
เป็น ลมพิษ ขาดวิตามิน อะไร
รูปลมพิษ
ลมพิษกี่วันหาย
วิธีแก้ โรค ลมพิษ อย่าง ง่ายๆ
วิธีรักษาลมพิษแบบธรรมชาติ
เป็นลมพิษห้ามกินอะไร
เกลือ แก้ลมพิษ
มะนาวแก้ลมพิษ
ลมพิษ กลางคืน
เป็น ลมพิษ ขาดวิตามิน อะไร
ลมพิษ Pantip
เป็น ลมพิษ ขาดวิตามิน อะไร
เป็นลมพิษ ใช้อะไรทา
ลมพิษ กลางคืน
เป็นลมพิษกี่วันหาย
วิตามินซี แก้ ลมพิษ
รูปลมพิษ
ลมพิษติดต่อไหม
เป็นลมพิษทุกวัน