โรคตาปลา รักษาได้ โดยแพทย์เฉพาะทาง
เจ็บตาปลาที่เท้าจังเลย ใส่รองเท้าก็เดินลำบาก ถ้าใครไม่เคยเป็นคงไม่รู้หรอกว่าทรมานแค่ไหน แบบนี้ต้องรีบหาวิธีรักษาตาปลาเสียแล้ว หากใครกำลังทรมานกับโรคนี้อยู่ เรามีคลินิกดีมาแนะนำคุณที่จะช่วยให้คุณหายขาดจากโรคนี้ Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” คลินิกที่สามารถรักษาคุณได้เนื่องจากมีทีมแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ นำทีมแพทย์โดย พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจ.แพทย์ ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะมีประสบการณ์ทำงานจากหลากหลายสถาบัน เช่น
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นตาปลา ก็น่าจะรู้ข้อมูลไว้บ้าง จะได้ช่วยป้องกันไม่ให้ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดตาปลา ที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณโดยไม่รู้ตัวก็ได้ มาเริ่มกันเลย
โรคตาปลา คืออะไร
โรคตาปลา (Corns) เป็นโรคที่เนื้อเยื่อชั้นบนของผิวหนังมีการหนาตัวและนูนขึ้นมาเป็นตุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีเป็นเวลานาน ๆ มักเกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีปุ่มกระดูกนูน โดยเฉพาะที่บริเวณฝ่าเท้าและนิ้วเท้า ตาปลาเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป แต่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น และส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้แต่อย่างใด (ยกเว้นในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเป็นแล้วไม่รักษาให้ดี อาจเกิดการอักเสบรุนแรงได้)
ปรึกษาปัญหา โรคตาปลา คลิกที่นี่
อาการของ โรคตาปลา
เนื่องจากมือและเท้าเป็นอวัยวะที่ใช้งานบ่อย จึงมักทำให้พบตาปลาในตำแหน่งนี้กันมาก ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่อาจพบอาการของ โรคตาปลา ได้เช่น
- บริเวณขา
- หน้าผาก
ซึ่งจะพบได้ในชาวมุสลิมที่สวดมนต์โดยการคุกเข่าและใช้หน้าผากกดทับพื้นเป็นประจำ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วตาปลาจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังนี้
- ตาปลา ที่เรียกว่า “คอร์น” (Corn, Clavus, Heloma) ตาปลาชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนของผิวที่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลาง ซึ่งเกิดจากผิวหนังชั้นบนสุดของหนังกำพร้า มีการบุ๋มตัวลงไป และทำให้ชั้นของขี้ไคล ซึ่งเกิดจากการลอกตัวของผิวหนังชั้นบนสุดของหนังกำพร้านี้มีการสะสมอัดแน่นจนไปกดเบียดชั้นผิวหนังแท้ซึ่งมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บนั่นเอง และในบางครั้งอาจพบว่ามีการอักเสบแดงของผิวหนังโดยรอบ ตาปลาชนิดนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
- ตาปลาชนิดขอบแข็ง (Hard corn, Heloma durum) เป็นตาปลาที่พบได้บ่อยที่สุดในบริเวณด้านบนและด้านข้างของนิ้วเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วก้อย ตาปลาชนิดนี้จะมีลักษณะ
- แข็ง
- มีผิวแห้ง
- เป็นขุย
- แต่มีความวาวเหมือนขี้ผึ้ง
เมื่อใช้ใบมีดเฉือนตุ่มนูนนี้ออกบาง ๆ ก็จะเห็นจุดกดแข็งสีออกใส ๆ อยู่ตรงกลางตุ่ม ซึ่งมีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
ติดต่อสอบถามรักษา โรคตาปลา คลิกที่นี่
- ตาปลาชนิดอ่อน (Soft corn, Heloma molle) เป็นตาปลาที่พบได้บ่อยที่สุดในบริเวณง่ามนิ้วระหว่างนิ้วก้อยและนิ้วนางของเท้า ตาปลาชนิดนี้จะมีลักษณะ
- เป็นตาปลาที่นุ่มกว่าชนิดแรก
- มีผิวชุ่มชื้น
- มักจะมีการลอกตัวออกของผิวเสมอ
หากใช้ใบมีดเฉือนตุ่มนูนนี้ออกบาง ๆ ก็จะเห็นจุดกดแข็งอยู่ตรงกลางเช่นเดียวกัน
- ตาปลา ที่เรียกว่า “คัลลัส” หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “หนังหนาด้าน” (Callus, Tyloma) เป็นตาปลาที่พบได้ที่บริเวณส้นเท้าและฝ่าเท้าส่วนที่เชื่อมต่อกับนิ้วเท้า ตาปลาชนิดนี้จะมีลักษณะ
- เป็นตุ่มนูนของผิวหนังแบบที่ไม่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลาง
- ผิวหนังจะมีความหนาและด้านกว่าปกติ
- โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าตาปลา
- อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 นิ้ว
- ส่วนขอบเขตของตาปลาชนิดนี้จะไม่ชัดเจน
ซึ่งแตกต่างจากตาปลาชนิดแรกที่จะมีขอบเขตอย่างชัดเจน และในบางครั้งยังอาจเกิดตาปลาชนิดที่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลางร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดหรือคันแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นตาปลามีขนาดใหญ่ก็อาจทำให้มีอาการเจ็บปวดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนสวมใส่รองเท้า ผู้ที่มีโครงสร้างของเท้าผิดปกติ เช่น
- ฝ่าเท้าแบน จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นตาปลาชนิดนี้สูงมาก
นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่ฝ่ามือหรือหัวเข่าบริเวณที่มีแรงเสียดสี เช่น
- จากการใช้มือจับอุปกรณ์ในการทำงานจนเกิดแรงเสียดสีอยู่เป็นประจำ เช่น
- จอบ
- เสียม
- กรรไกร
- มีด เป็นต้น
วิธีรักษาตาปลาที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic”
วิธีรักษาตาปลา ที่คลีนิกของ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” นั้น มีดังต่อไปนี้
- ใช้ยากำจัดตาปลาที่เท้า เช่น ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% ปิดส่วนที่เป็นตาปลาทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นค่อยแกะพลาสเตอร์ออก แล้วแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อให้ผิวหนังตรงฝ่าเท้านิ่มลง จะช่วยทำให้ตาปลาหลุดลอกออกไปได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าตาปลาหลุดลอกออกไปยังไม่หมด ก็ให้แปะพลาสเตอร์ซ้ำโดยใช้หินขัดเท้าในการขัดผิวหนังที่ตายแล้วออกก่อนค่อยแปะพลาสเตอร์แผ่นใหม่ แล้วกลับมาแช่น้ำอุ่นอีกครั้ง
- ตัด หรือลอกผิวหนังส่วนเกินออก โดยตัดเอาผิวหนังที่แข็งหนา หรือตาปลาที่เท้าที่มีขนาดใหญ่ด้วยออกมีดผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรตัดหรือลอกตาปลาด้วยตัวเองเพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษา
- ผ่าตัดหรือใช้เลเซอร์จี้ตาปลาออก เป็นอีกวิธีที่สะดวกรวดเร็ว แต่ก็อาจทิ้งแผลเป็นไว้ และที่สำคัญคือค่ารักษาแพงกว่าวิธีอื่น ๆ แต่วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่เป็นตาปลาเพราะเกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่ทำให้กระดูกเสียดสีกัน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นตาปลาที่เท้า เนื่องจากความผิดปกติของกระดูก แต่เป็นกรณีที่พบไม่บ่อย
ส่วนใครที่เคยได้ยินคนแนะนำให้เอาธูปจี้ตาปลา หรือใช้ของมีคมเฉือนตาปลาออก ข้อเตือนไว้ตรงนี้เลยค่ะว่าเป็นวิธีที่อันตรายมาก เพราะนอกจากอาจไม่ได้ช่วยให้ตาปลาหายแล้ว ยังทำให้เกิดแผลอักเสบติดเชื้อตามมาเป็นของแถม แบบนี้ไม่ไหวแน่ เราแนะนำให้คุณมาหาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” จะดีที่สุดเนื่องจาก
- มีแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ
- พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาคุณในทุกๆ เรื่อง
- ใส่ใจในความรู้สึกและปัญหาของคุณ
- พร้อมการให้บริการที่ยอดเยี่ยม
- มีทีมงานคอยบริการคุณทุกคนอย่างดี
- ใส่ใจคนไข้ทุกคนไม่ว่าปัญหาของคุณจะเล็กมากแค่ไหน
แอดไลน์ปรึกษาอาการ โรคตาปลา คลิกที่นี่
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ผ่านการศึกษาจาก (Education)
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
- Nail surgery training
- Laser expert training
- Hair expert training
- Boton university usa
ตาปลา รักษา ง่ายๆ
หูด ตาปลา
รากตาปลา
ตาปลาที่เท้า หายเองได้ไหม
ตาปลาที่นิ้วมือ สาเหตุ
ตาปลาที่นิ้วมือ pantip
โรคตาปลา ภาษาอังกฤษ
ผ่าตาปลา
ตาปลา รักษา ง่ายๆ
โรค ตาปลา เกิดจาก สาเหตุ อะไร
ตาปลาที่เท้า หายเองได้ไหม
ตาปลาที่นิ้วมือ สาเหตุ
หูด ตาปลา
รากตาปลา
ตัดตาปลาเอง
ตาปลาเกิดจากอะไร นิ้วมือ
|
ตาปลา รักษา ง่ายๆ
ตาปลาวิธีรักษา
โรค ตาปลา เกิดจาก สาเหตุ อะไร
แอสไพริน รักษาตาปลา
รักษาตาปลา pantip
รักษาตาปลา โรงพยาบาลไหนดี
ตาปลาที่นิ้วมือ สาเหตุ
ตัดตาปลาเอง
รากตาปลา
โรค ตาปลา เกิดจาก สาเหตุ อะไร
ตาปลา รักษา ง่ายๆ
ตาปลาที่นิ้วมือ สาเหตุ
ตาปลาที่เท้า หายเองได้ไหม
หูด ตาปลา
ตัดตาปลาเอง
ผ่าตัดตาปลา
|