การรักษาโรคตาปลาที่ถูกต้อง ควรทำยังไง?

โรคตาปลา เป็นโรคเนื้อเยื่อบนผิวหนังมีการหนาตัวและนูนขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ เกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีเป็นเวลานาน ๆ มักเกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีปุ่มกระดูกนูน โดยเฉพาะที่บริเวณฝ่าเท้าและนิ้วเท้า และโรคตาปลาเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปแต่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น และส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้แต่อย่างใด แต่ในผู้ป่วยเบาหวานอาจจะต้องระวังมากกว่าปกติ

อาการของโรคตาปลามีอะไรบ้าง

โรคตาปลาเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีหรือถูกกดทับบ่อย ๆ และเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดได้จากการกระทำของตัวผู้ป่วยเองหรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายผู้ป่วยก็ได้ มาดูกันว่าอาการของตาปลาและสิ่งที่บ่งบอก มีดังนี้

  • มีตุ่มหนา แข็ง หรือหยาบเกิดขึ้นที่ผิวหนัง
  • กดแล้วรู้สึกเจ็บ
  • ตุ่มที่เป็นตาปลาจะแห้งเป็นขุย มีผิวคล้ายกับขี้ผึ้ง
  • ตุ่มอาจมีวงสีเหลืองอยู่รอบ ๆ ตรงกลางที่มึความแข็งและเป็นสีเทา
  • ตาปลาที่ยังนิ่มอยู่จะมีลักษณะคล้ายกับแผล

แอดไลน์ปรึกษาอาการ โรคตาปลา คลิกที่นี่

ตาปลาเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย แต่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น และส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้แต่อย่างใด (ยกเว้นในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเป็นแล้วไม่รักษาให้ดี อาจเกิดการอักเสบรุนแรงได้)  ดังนั้นทางที่ดี ควรเข้ารับคำปรึกษาและเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคผิวหนัง  เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยและทำการรักษา ให้หายจากโรคตาปลาและปลอดภัยกับคุณที่สุด

ตาปลากับหูดต่างกันตรงไหน

หลายคนเห็นก้อนแข็งๆ ขึ้นมาที่เท้าก็ไม่แน่ใจว่าเป็นหูดหรือตาปลา  วันนี้ขอแนะนำวิธีสังเกต ว่าอาการไหรหูด อาการไหนตาปลา ดังนี้

     หูด

  • เกิดจากเชื้อไวรัสไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนังให้แบ่งตัวเพิ่มขึ้น
  • ก้อนในชั้นหนังกำพร้าจะเจ็บมากถ้าบีบก้อนด้านข้างเข้าหากัน
  • เมื่อปาดตุ่มดูจะเป็นเส้นสีขาว ถ้าตัดลึกลงไปอีกจะมีเลือดออก

      ตาปลา

  • บีบด้านข้างจะไม่เจ็บ จะเจ็บก็ต่อเมื่อกดลงไปในตุ่ม
  • ไม่มีเลือดออกเป็นขี้ไคลหนาจากการกดทับและเสียดสีเป็นเวลานาน

ติดต่อสอบถามรักษา โรคตาปลา คลิกที่นี่

ดังนั้นให้ตรวจดู และสังเกตว่าสิ่งมีอาการแบบไหน สังเกตุอาการว่าเป็นหูด หรือตาปลา หากไม่แน่ใจควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคผิวหนัง  เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างสะอาด ปลอดภัย เจ็บน้อยกว่า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาปลา

ตาปลาเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่จะก่อให้เกิดอาการเจ็บและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • ตาปลาที่มีอาการเจ็บ อาจทำให้ผู้ป่วยเดินได้ไม่คล่องตัวเท่าไรนัก
  • ผู้ป่วยที่มักเฉือนตาปลาออกด้วยตัวเอง มักเฉือนเอาผิวหนังปกติออกจนมีเลือดออกและกลายเป็นแผล ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • สำหรับตาปลาชนิดอ่อน ที่ผิวหนังมีการลอกตัว อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

ปรึกษาเรื่อง โรคตาปลา คลิกที่นี่

ในโรคตาปลานั้นถ้าปล่อยไว้นาน ตาปลาอาจเกิดการอักเสบมีแผลและติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะเกิดการติดเชื้อรุนแรงจนเป็นอันตราย ซึ่งควรใส่ใจดูแลอย่างดีก่อนที่จะรุกลาม

การรักษาโรคตาปลา

โรคตาปลาเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีหรือถูกกดทับบ่อย ๆ และเป็นเวลานาน  การรักษาโรคตาปลาให้ได้ผลนั้นมีอยู่หลายวิธี ในวันนี้ขอแนะนำวิธีที่นิยมใช้รักษากันทั่วไปในปัจจุบัน เช่น

  • พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิกจะช่วยทำให้ตาปลาหลุดลอกได้ง่ายขึ้น
  • ยาแอสไพรินบด น้ำมะนาว น้ำเปล่า ป้ายและขัดให้ตาปลาลอกออก
  • ทายากัดตาปลาหรือหูด ต้องระวังเรื่องผิวส่วนอื่นลอกจากยา
  • ผ่าตัดหรือเลเซอร์จี้ตาปลาออก สะดวกและรวดเร็วที่สุด

ติดต่อสอบถามรักษา โรคตาปลา คลิกที่นี่

ในส่วนของความเชื่อเดิมว่าให้เอาธูปจี้ตาปลา หรือใช้ของมีคมตัดตาปลาออก ต้องแนะนำก่อนว่าเป็นวิธีที่อันตรายมาก เพราะอาจไม่ได้ทำให้ตาปลาหาย ยังทำให้เกิดแผลอักเสบติดเชื้อตามมาได้อีกด้วย แนะนำให้เข้ารับ๗การรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง เพื่อทำการรักษาวิธีที่ถูกต้อง และปลอดภัยที่สุด

“Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” คลินิกรักษาโรคผิวหนังโดยเฉพาะ

หากคุณกำลังเจอกับปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง คุณสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของ เพื่อขอคำปรึกษาSeven Plus Clinic และ D’Secret Clinicได้ทุกสาขา ไม่ว่าคุณกำลังเจอปัญหาโรคผิวหนังแบบไหนอยู่ ทางคลินิกจะคอยดูแลคุณอย่างใกล้ชิดและมีความตั้งใจในการบริการให้กับคุณอย่างดีที่สุดด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคและผิวหนังและการให้บริการโดยเฉพาะ

ประสบการณ์การทำงาน พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ 

  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ

ผ่านการศึกษาจาก (Education)

  • Hair Restoration Training, Korea (2015)
  • Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
  • Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
  • Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
  • Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
  • Nail surgery training
  • Laser expert training
  • Hair expert training
  • Boton university usa

การันตรีด้วยรีวิวมากมาย ของทางคลินิค

คลินิกผิวหนัง เดอซีเคร็ท
67 ซอย ประชาชื่น 2 ถนน ริมคลองประปา
แขวง บางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
tel://0914629154

ถ้าหากท่านไม่สะดวกเดินทางมาที่ เดอซีเคร็ท
ท่านสามารถพูดคุยกับคุณหมอโรคผิวหนังได้ที่ SEVEN PLUS CLINIC
589 ปากถนนพระรามเก้า ซอย 51 สวนหลวง Bangkok 10250
tel://0973649934
Line ID : @sevenplusclinic
เปิดบริการวันจันทร์ – วันอาทิตย์ 10:00 น ถึง 19:00 น ยกเว้นวันอังคาร