โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คืออะไร
โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ โรคการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่พบได้บ่อย ผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของโรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคที่เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ลักษณะของโรคเซ็บเดิร์ม มีดังต่อไปนี้
- ผื่นแดง
- มีขุยละเอียดสีขาวและเหลือง
- คัน
- เป็นสะเก็ดรังแคบนหนังศีรษะ
ส่วนตามบริเวณร่างกายเองก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน บริเวณที่เกิดมักเป็นส่วนที่มีความมันบริเวณจุดที่มีต่อมไขมันมาก เช่น
- ใบหน้า
- ไหล่
- หน้าอก
- หลัง
- ศีรษะ
โดยส่วนมากมักจะปรากฏในลักษณะผื่นแดง ทั้งนี้โรคเซบเดิมอาจทำให้สับสนกับโรคสะเก็ดเงิน อีสุกอีใส หรืออาการภูมิแพ้ได้
อาการของโรคเซ็บเดิร์ม เป็นแบบไหน
รังแคหรือสะเก็ดหนาบนหนังศีรษะถือเป็นเซบเดิมชนิดหนึ่ง โดยในทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือนมักจะมีเกล็ดสีเหลืองหรือน้ำตาลบนศีรษะ และมักจะหายไปก่อนอายุครบ 1 ปี แต่อาจกลับไปเป็นได้อีกครั้งในช่วงวัยรุ่น ทั้งนี้โรคเซบเดิมในเด็กอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผื่นผ้าอ้อม นอกจากบริเวณศีรษะที่พบได้บ่อยแล้ว โรคเซบเดิมยังสามารถเป็นตามผิวหนังบริเวณที่มีความมัน เช่น
- ใบหน้า โดยเฉพาะบนเปลือกตา รอบ ๆ จมูก
- รวมถึงบริเวณลำตัว ได้แก่
- ข้อพับแขนขา
- กลางหน้าอก
- รอบสะดือ สะโพก
- และขาหนีบ
เซ็บเดิร์มมีลักษณะและอาการดังนี้
- ผิวหนังตกสะเก็ดเป็นรังแคบนหนังศีรษะ
- บริเวณที่มีเส้นผม คิ้ว หรือ หนวดเครา
- ผิวมันเป็นแผ่น ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง
- มีสะเก็ดแข็งบนหนังศีรษะ ใบหู ใบหน้า หน้าอก รักแร้ ถุงอัณฑะ
- ผมร่วงบริเวณหนังศรีษะที่เป็นเซ็บเดิร์ม
- ผิวหนังในบริเวณเป็นเซ็บเดิร์มจะมีความมัน
- มีอาการคัน แดง ผิวหนังลอกเป็นขุยสีขาวหรือสีเหลือง และผิวดูมัน
- เปลือกตาอักเสบ มีอาการแดงหรือมีสะเก็ดแข็งติด
- อาจมีอาการปวดหรือคันร่วมด้วย
กรณีที่อาการของโรครบกวนการนอนหลับพักผ่อนหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกกังวลและอับอาย พยายามรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโรคผิวหนัง
โรคเซ็บเดิร์มสาเหตุเกิดจากอะไร
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่บางครั้งหากบุคคลในครอบครัวเป็นเซ็บเดิร์มคุณอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่
- พันธุกรรม
- ความเครียด
- เชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง
- สภาพอากาศที่เย็นและแห้ง
- ภาวะแทรกซ้อนจากโรคบางชนิด รวมทั้งการใช้ยารักษาโรค
- โครงสร้างผิวไม่แข็งแรง
ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเซ็บเดิร์ม
สาเหตุของการเกิดเซ็บเดิร์มไม่ได้มาจากการไม่รักษาความสะอาดหรืออาการภูมิแพ้แต่อย่างใด โดยมีโอกาสเกิดกับทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 30-60 ปีได้มากกว่าวัยอื่น ๆ และยังพบในเพศชายได้บ่อยกว่าเพศหญิง รวมถึงผู้ที่มีผิวมัน นอกจากนี้การเจ็บป่วยจากโรคหรือภาวะใด ๆ ต่อไปนี้ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเซบเดิมได้เช่นกัน
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและโรคทางจิต เช่น
- โรคพาร์กินสัน
- ภาวะซึมเศร้า
- ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอลง เช่น
- ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
- โรคตับอ่อนอักเสบ
- พิษสุราเรื้อรัง
- มะเร็งบางชนิด
- โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน เช่น
- เบาหวาน
- สิว
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลว
- โรคการกินผิดปกติ
- โรคลมชัก
- โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย
- โรคสะเก็ดเงิน
- ยารักษาโรคบางชนิด
- การเกา ครูดข่วน หรือการได้รับบาดเจ็บของผิวหน้า
- การติดสุรา
ดังนั้นสาเหตุของโรคเซ็บเดิร์มมักเกิดจากความแปรปรวนของฮอร์โมน เชื้อรา สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงพันธุกรรม โดยมีปัจจัยให้โรคทำงานคืออุณหภูมิเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถหายได้ แต่ก็ยังบรรเทาอาการได้ด้วยการรักษาทางการแพทย์และการดูแลตัวเอง
วิธีดูแลเบื้องต้นสำหรับคนเป็นโรคเซ็บเดิร์ม
ผู้ที่เป็นเซ็บเดิร์มอาจเริ่มจากการดูแลผิวด้วยตนเอง หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการ ดังนี้
- รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นอยู่เสมอ ด้วยสบู่และน้ำเปล่า
- ทำความสะอาดร่างกาย หนังศีรษะเป็นประจำ
- โดยเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปราศจากสารทำความสะอาดรุนแรง
- ไม่มีสารระคายเคืองต่างๆ เช่น
- น้ำหอม
- สี
- พาราเบน
- แอลกอฮอลล์
- ใช้ครีมบำรุงและผลิตภัณฑ์ช่วยเสริมเกราะปกป้องผิว และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
วิธีรักษาโรคเซ็บเดิร์ม
หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาด้วยตัวเองที่บ้านแล้วนั้น คุณสามารถไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อ ปรึกษาโรคผิวหนัง และแพทย์อาจจะทำการรักษาโดยใช้ตัวยา ดังนี้
- แชมพูที่มีส่วนผสมของ
- Hydrocortisone
- fluocinolone
- desonide
ตัวยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากในการรักษาโรคเซ็บเดิร์มได้แต่หากใช้เป็นเวลานานอาจจะมีผลข้างเคียง
- ยาต้านเชื้อราที่เรียกว่า binbinafine
- ยานี้มักจะไม่แนะนำเนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง
- เกิดอาการแพ้และปัญหาตับ
- Metronidazole เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถ
- บรรเทาอากาและยับยั้งแบคทีเรีย
- อยุ่ในรูปแบบครีมและเจล
- สามารถใช้กับผิวได้วันละสองครั้งจนกว่าอาการจะดีขึ้น
- แพทย์อาจจะให้ใช้ตัวยา psoralen
- ร่วมกันกับการรักษาด้วยแสง ตัวยา psoralen
- อาจจะมาในรูปแบบยาทาหรือยาเม็ดรับประทาน
เมื่อไหร่ที่คุณควรพบแพทย์
ผู้ป่วยโรคเซ็บเดิร์มควรเข้าพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาได้เองที่บ้าน และหาก
- ใช้แชมพูทั่วไปแล้วรังแคไม่หาย
- ผิวหนังบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์มมีอาการแดงมาก
- บริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์มมีอาการเจ็บแสบ
- มีบริเวณที่เป็นหนองมีหนองหรือน้ำไหลออกมา
Dsecret clinic เราเข้าใจคุณ
ซึ่ง Dsecret clinic เข้าใจดีสำหรับทุกคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง โรคผิวหนัง – โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เรารู้และเข้าใจสาเหตุของทุกปัญหา กรณีที่อาการของโรครบกวนการนอนหลับพักผ่อนหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกกังวลและอับอาย พยายามรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา เพียงคุณเข้ามาติดต่อสอบถาม หรือเข้ามาปรึกษาเราได้ฟรีที่ คลินิก Dsecret clinic เรามี
- แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ
- ไว้พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาคุณในทุกๆ เรื่อง
- เพราะเราใส่ใจในความรู้สึกและปัญหาของคุณ
- เราพร้อมให้บริการที่ยอดเยี่ยม
- มีทีมงานคอยบริการคุณทุกคนอย่างดี
- ใส่ใจคนไข้ทุกคนไม่ว่าปัญหาของคุณจะเล็กมากแค่ไหน
- แต่นั้นคือเรื่องสำคัญของเราเสมอ
ขอบคุณที่ไว้ใจให้เราได้คอยดูแลคุณอย่างใกล้ชิด และเราจะตั้งใจในการบริการงานของเราให้ดีที่สุดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณมาหาเราแล้วได้แต่รอยยิ้มและความสุขกลับไป
การค้นหาที่เกี่ยวข้องโรคเซ็บเดิร์ม ห้ามกินอะไร
เซ็บเดิร์ม pantip
เซ็บเดิร์ม หายขาด
เซบเดิม สถาบันโรคผิวหนัง
แชมพูรักษาเซ็บเดิร์ม
เซ็ บ เดิ ร์ ม. เรื้อรัง
เซ็บเดิร์ม ทารก
วิตามิน รักษา เซ็ บ เดิ ร์ ม
|
การค้นหาที่เกี่ยวข้องเป็นเซ็บเดิร์ม ห้ามกินอะไร
รักษาเซ็บเดิร์ม pantip
เซ็บเดิร์ม หายขาด
วิตามิน รักษา เซ็ บ เดิ ร์ ม
แชมพูรักษาเซ็บเดิร์ม
เซ็บเดิร์ม กับ สะเก็ดเงิน
เซ็บเดิร์ม ทารก
สมุนไพร รักษาโรค เซ็ บ เดิ ร์ ม
การค้นหาที่เกี่ยวข้องเป็นเซ็บเดิร์ม ห้ามกินอะไร
โรคเซ็บเดิร์ม pantip
เซบเดิม สถาบันโรคผิวหนัง
วิตามิน รักษา เซ็ บ เดิ ร์ ม
เซ็บเดิร์ม หายขาด
เซ็บเดิร์ม กับ สะเก็ดเงิน
เซ็ บ เดิ ร์ ม. เรื้อรัง
แชมพูรักษาเซ็บเดิร์ม
|