1. โรคเชื้อราที่เล็บ (onychomycosis) คืออะไร
โรคเชื้อราที่เล็บ หมายถึง การติดเชื้อราซึ่งรวมถึงราที่เป็นสายรา หรือ เชื้อราในรูปของยีสต์ (ราที่มีลักษณะเป็นเซลล์กลม) ที่เล็บ โดยปกติแล้วเชื้อราที่กล่าวมานี้มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น
- การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
- การเพาะเชื้อรา
ในประเทศไทยชนิดของเชื้อราที่พบบ่อยๆ คือ
- เชื้อกลากแท้(dermatophytes)
- เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes)
- เกิดจากยีสต์(yeasts)
- เชื้อแคนดิดา (Candida)
2. เชื้อราที่เล็บ มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง
เชื้อรา คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแสงแดด มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่อุ่นและชื้น ด้วยขนาดที่เล็กมากทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก และจึงสามารถเข้าไปอาศัยในร่างกายได้ผ่านแผลขนาดเล็กหรือร่องระหว่างเล็บและเนื้อเยื่อรองเล็บ (Nail Bed) เชื้อรากลุ่มหลักที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราในเล็บได้แก่ เชื้อราชนิด Dermatophyte เป็นเชื้อราที่เล็บมีโอกาสเกิดกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย
การติดเชื้อรา ที่เล็บ มี 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
2.1 อาจมีอาการกดเจ็บรอบเล็บ รอบเล็บบวมแดง ผิวเล็บขรุขระ
สาเหตุ : โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุเกิดจาก เชื้อแคนดิดา มักเกิดจากนิ้วมือที่เปียกน้ำบ่อยหรือแช่น้ำ เช่น
- ซักผ้า
- ล้างจาน
2.2 เล็บร่น
สาเหตุ : เนื่องจากแผ่นเล็บไม่ติดกับพื้นเล็บทำให้เกิดโพรงใต้แผ่นเล็บ บางรายพบว่ามีภาวะใต้เล็บหนาหรืออาจทำให้ผิวเล็บเสียและขรุขระ ทำให้เกิดจากเชื้อราในกลุ่มราสาย ทั้งที่เป็นเชื้อกลาก และไม่ใช่แค่ติดได้จากเชื้อกลากที่เข้าไปใต้เล็บเท่านั้น อาจติดจาก
- ดิน
- สัตว์
- และคนสู่คนได้
3. ปัจจัยหรือพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเชื้อราในเล็บ
โรคเชื้อราที่เล็บ มีสาเหตุและปัจจัยหลายอย่างที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื่อราที่เล็บได้ บางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเชื้อราที่เล็บได้ เช่น
- ไม่รักษาความสะอาดของเท้า
- เดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น
- ห้องอาบน้ำสาธารณะ
- สระว่ายน้ำ
- สวมรองเท้าที่คับหรืออับชื้น
- มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ เล็บนิ้วเท้า
- ล้างมือบ่อย หรือต้องทำงานที่ทำให้มือชื้นตลอดเวลา เช่น
- ทำอาหาร
- ทำความสะอาด
- เชื้อราในเล็บเท้าอาจติดต่อไปยังเล็บมือได้ หากผู้ป่วยใช้มือเกาหรือสัมผัสกับเท้าบริเวณที่เป็นโรค
- เป็นโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งเกิดจากเชื้อราบนผิวหนังบริเวณนิ้วเท้า โดยเชื้อราอาจลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้าได้ หากผู้ป่วยไม่ได้รักษาโรคน้ำกัดเท้าอย่างทันท่วงที
- เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น
- โรคเบาหวาน
- โรคสะเก็ดเงิน
- โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
- มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
- สูบบุหรี่
5. ลักษณะและอาการของโรคเชื้อราที่เล็บ
โรคเชื้อราที่เล็บโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีอาการอะไร แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาในการรักษาโรคมักจะเป็นโรคเชื้อราที่เล็บอันเนื่องมา จากเชื้อกลากแท้ หรือ เชื้อกลากเทียมซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไร บางรายปล่อยไว้นานหลายปี จนเล็บมีการเปลี่ยนแปลงมากจึงมาพบแพทย์ หรือมาพบแพทย์ด้วยเหตุอื่น ๆ แล้วได้รับการส่งตัวมาพบแพทย์ผิวหนังเนื่องจากตรวจพบเล็บผิดปกติ
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีรอบเล็บบวมแดง
- โดยเฉพาะนิ้วมือที่ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ
- ซึ่งเกิดจากเชื้อยีสต์
ความผิดปกติที่เล็บนั้น พบว่าเล็บเท้าพบได้บ่อยกว่าเล็บมือ และเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก โดยเฉพาะพบในผู้สูงอายุที่อาจมีโรคร่วมอื่น ๆ เกิดอยู่ด้วยกันได้
6. โรคเชื้อราที่เล็บ สามารถนำไปสู่โรคอื่นได้
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีการติดเชื้อราที่ผิวหนังร่วมด้วย เช่น เชื้อราที่เท้า หรือ เชื้อราที่ผิวหนังส่วนอื่นที่กระจายออกไปกว้าง หรือผู้ป่วยบางส่วนอาจมีผลแทรกซ้อนตามมาหลังการติดเชื้อรา เช่น
- เล็บขบ
- เล็บขบอักเสบติดเชื้อ
- เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
6.1 อาการที่บ่งบอก ว่าเราเป็นเชื้อราที่เล็บ
การที่จะวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เล็บนั้น จะต้องอาศัยลักษณะของเล็บที่มีความผิดปกติดังที่ได้กล่าวแล้ว ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น
- การขูดขุยจากเล็บไปตรวจหาเชื้อรา
- การเพาะเชื้อรา
- จำแนกเชื้อราก่อโรคที่เล็บ
ในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะเชื้อกลากเทียม แพทย์อาจต้องตรวจทางห้องปฏิบัติ การซ้ำ โดยเฉพาะการเพาะเชื้อรามากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
7. การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ มีวิธีรักษายังไง
โรคเชื้อราที่เล็บมีความผิดปกติอาจสร้างปัญหาให้ผู้ป่วย แต่ก็ไม่ใช่ภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษา การรักษาเชื้อราที่เล็บต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนหรืออาจเป็นปี จัดเป็นโรคที่รักษาได้ไม่ง่ายนัก แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้
7.1 การรักษาเชื้อราที่เล็บด้วยตนเอง
- รักษาความสะอาดของเล็บ
- หลีกเลี่ยงการทำให้เล็บอับชื้น
- ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเล็บส่วนที่ติดเชื้อรา
7.2 การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บโดยแพทย์เฉพาะทาง
มีหลายวิธี แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
1.การใช้ยารับประทาน มียารักษาเชื้อราโดยการรับประทานหลายชนิด โดยทั่วไปแล้วมีประสิทธิภาพการรักษาสูง สามารถรักษาความผิดปกติของเล็บที่เป็นโรคได้ทุก ๆ เล็บ รวมถึงเท้าและฝ่าเท้าที่เป็นโรคได้ แต่การใช้ยารับประทานจะได้ผลดีกับโรคโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อกลากแท้หรือเชื้อยีสต์บางชนิด การใช้ยารับประทานบางชนิดต้องระวังผลข้างเคียงของยาเช่น
- การแพ้ยา
- ผลต่อตับและไต
ผลของยาอื่นที่กระทบกับการรักษาเช่น การรับประทานยาลดไขมันบางชนิดควบคู่ด้วย หรือการได้ยาลดกรด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมของยา เป็นต้น
2.การใช้ยาทาเฉพา ะที่ เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยการเลือกรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่นั้นจะใช้ได้ดีโดยเฉพาะโรคเชื้อราที่เล็บที่มีจำนวนเล็บไม่มากนัก และไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดการรักษาได้ยาก เช่น มีรอยโรคเชื้อราที่ลามไปถึงโคนเล็บ การรักษาโดยการใช้ยาทาเฉพาะที่ที่เล็บ อาจต้องใช้ยาทาอื่น ๆ ร่วมด้วย ยาทามีหลายรูปแบบ เช่น
- ชนิดที่เป็นสารละลาย
- ชนิดที่เป็นยาทาเคลือบเล็บ
- ซึ่งยาทาบางชนิดสามารถทาที่เล็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ทำให้มีความสะดวกในการใช้ยา หากผู้ป่วยมีรอยโรคร่วมที่เท้า เช่น ที่ฝ่าเท้า ง่ามนิ้วเท้า เพราะยาจะออกฤทธิ์ได้เฉพาะที่เล็บที่ทายาเท่านั้น
3.การใช้วิธีการอื่นๆ ในการ หลายวิธีแม้ยังเป็นวิธีการใหม่ แต่ก็มีผลการศึกษายืนยันความเป็นไปได้ ให้การรักษาที่ให้ผลดีและปลอดภัย เช่น
3.1การถอดเล็บ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ถอดเล็บ ควบคู่ไปกับการรับประทานยาต้านเชื้อรา
3.2การรักษาทางเลือกใหม่ ในปัจจุบันมีงานวิจัยเพื่อศึกษาวิธีการรรักษาเชื้อราในเล็บวิธีใหม่ เช่น
- การใช้เลเซอร์
- การใช้อัลตร้าซาวด์
แม้ผลลัพธ์ภายหลังการรักษาในเบื้องต้นนั้นเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ให้ข้อมูลเพียงพอต่อผลลัพธ์ในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น
8. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเชื้อรา
โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อราแต่การติดต่อก็ไม่สามารถติดกันง่าย เชื้อราที่พบเกิดโรคนั้นส่วนหนึ่งติดต่อด้วยกันจาก
- มนุษย์สู้มนุษย์
- สัตว์เลี้ยง
- เชื้อราหลาย ๆ ชนิดก็อยู่ในสิ่งแวดล้อม
- ดิน
- ต้นไม้
การรักษาต้องใช้ระยะเวลานาน อาจใช้เวลาหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และยังมีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ แม้ว่าเล็บที่ดูเหมือนเกือบจะปกติหลังการรักษาแล้ว แต่ยังอาจมีเชื้อราจำนวนน้อยอยู่ซึ่งเป็นเหตุของการเกิดโรคซ้ำ ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งโดย เฉพาะก่อนหยุดการรักษาก็นับว่ามีความสำคัญ เชื้อราในเล็บเท้าอาจแพร่กระจายและก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงบริเวณเท้าและอวัยวะอื่นได้
9. วิธีการป้องกันเชื้อราที่เล็บ เบื้องต้นง่ายๆ
โดยทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บได้ จากการลดปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดเชื้อราที่เล็บ ได้แก่
- รักษามือและเท้าให้สะอาด
- หลีกเลี่ยงการทำให้อับชื้น
- หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าในสถานที่สาธารณะบนพื้นที่ชื้นหรือมีน้ำขัง เช่น
- ห้องอาบน้ำสาธารณะ
- สระว่ายน้ำ เป็นต้น
- สวมใส่รองเท้าที่ไม่คับจนเกินไป
- ไม่ใส่รองเท้าที่อาจมีการสะสมของเชื้อรา
- สวมรองเท้าและถุงเท้าจากวัสดุธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้ระบายอากาศบริเวณเท้าได้ดีขึ้น
- ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
- ใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าที่สะอาด หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าร่วมกับผู้อื่น
- หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา และป้องกันเชื้อราลุกลาม
Dsecret clinic คลินิกรักษาโรคเกี่ยวกับเล็บอันดับ 1
อย่างไรก็ตาม Dsecret clinic คลินิก เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทาง จบ ปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเล็บก็จัดอยู่ในประเภทของผิวหนังที่เราได้ทำการรักษามามากมาย การันตีด้วยประสบการณ์การรักษามากกว่า 10,000 เคส นำทีมบริหารโดย คุณกิ๊ก มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทางของเราลงมือดูแลคนไข้เองทุกเคสด้วยตัวเอง และการบริการระดับมืออาชีพ เราพร้อมให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและความประทับใจของคนไข้คือความสุขของเราเช่นกัน
- รักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 14 ปี
- เน้นการรักษาให้โรคเชื้อราที่เล็บหายจริง
- การใช้เทคโนโลยีที่ใหม่ที่สุด
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ดีและทันสมัยมากที่สุด
- มีมาตรฐานในระดับสากล
- พร้อมทีมงานมืออาชีพ
การขูดขุยจากเล็บไปตรวจหาเชื้อรา การเพาะเชื้อรา คุณหมอมือเบามากถึงมากที่สุด ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดหรือเลือดออกแต่ประการใด นอกจากนั้นทางแพทย์ของเรายังคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว ยาที่รับประทานประจำ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้การรักษาโรคเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะเชื้อกลากเทียม ซึ่งเชื้อนี้มักจะดื้อต่อการรักษาด้วยยารับประทานรักษาเชื้อรา เพราะเราใส่ใจคุณ ในทุกขั้นตอนการรักษาของเรา
ประสบการณ์ มากกว่า 15 ปีของ พญ. มริญญา ผ่องผุดพันธ์
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพบาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ผ่านการศึกษาจาก ( Education )
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
- Nail surgery training
- Laser expert training
- Hair expert training
- Boton university usa
การค้นหาที่เกี่ยวข้องยาแก้เล็บขบ
เล็บขบ หายเองได้ไหม
เล็บขบ pantip
วิธีตัดเล็บขบ
เล็บขบ เนื้อบวม
ตัดเล็บขบ
เล็บขบเป็นหนอง pantip
เล็บขบเหม็น
การค้นหาที่เกี่ยวข้องเล็บขบเนื้อปูด
ยาแก้เล็บขบ
การรักษาเล็บขบ ด้วยวิถีธรรมชาติ
เล็บขบเป็นหนอง pantip
ตัดเล็บขบ
เล็บขบเน่า
เล็บขบ หายเองได้ไหม
ยาสีฟัน รักษาเล็บขบ
|
การค้นหาที่เกี่ยวข้องเล็บขบ หายเองได้ไหม
แก้เล็บขบ
ยาแก้เล็บขบ
ตัดเล็บขบ
เล็บขบเน่า
เจาะหนองเล็บขบ
การรักษาเล็บขบ ด้วยวิถีธรรมชาติ
เล็บขบ pantip
การค้นหาที่เกี่ยวข้องเล็บขบ หายเองได้ไหม
การรักษาเล็บขบ ด้วยวิถีธรรมชาติ
เล็บขบระยะแรก
เล็บขบเป็นหนอง pantip
เล็บขบเนื้อปูด
เล็บขบเน่า
เจาะหนองเล็บขบ
เล็บขบเหม็น
|