1. โรคผิวหนัง  – โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน คือ โรคผิวหนังที่มีการอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่จะทำให้เกิดอาการผิวหนังหนา เป็นขุย เป็นทรงกลมหรือรูปไข่บนร่างกาย มีอาการผิวหนังหนาใต้เล็บ บางรายมีอาการปวดข้อบริเวณมือเท้า โรคสะเก็ดเงินมักมีอาการเป็นๆ หายๆ สามารถพบได้ในช่วงวัยรุ่นและวัยกลางคน โดยผู้ป่วยมักมีผื่นเป็นปื้นแดง มีขุยสีขาวหนากระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเช่น

  • ตามข้อเข่า
  • ข้อศอก
  • หลัง
  • ก้นกบ
  • และมักมีผื่นขุยบนหนังศีรษะร่วมด้วย


2.โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุเกิดจากอะไร

สาเหตุ โรคสะเก็ดเงินแท้จริงคือการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด น่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งสามารถเกิดจากได้จากการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ รวมไปถึงกรรมพันธุ์ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะมีญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน นอกเหนือกจากนั้น ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการเช่น

  1. ความเครียด
  2. การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น
  • รอยผ่าตัดผิวหนัง
  • รอยแกะเกา
  • การขูดขีด
  • การถู
  • รอยถลอก
  1. อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส
  2. การใช้ยาบางชนิด (พบได้น้อย) เช่น
  • ยาต้านมาเลเรีย
  • ยาลดความดันชนิดต้านเบต้า
  • ยาจิตเวช เช่น Lithium เป็นต้น
  1. ติดเชื้อ HIV

ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล สาเหตุของโรคสะเก็ดเงินยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างผิดปกติต่อองค์ประกอบบางอย่างของผิวหนัง ทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้นกว่าปกติผื่นจึงหนาตัวขึ้น ปัจจัยอื่น ๆ ที่มากระตุ้นให้เกิดรอยโรคสะเก็ดเงินเพิ่มขึ้น

2.1 การวินิจฉัยโรค        

โดยทั่วไป ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยอย่างเดียวก็มักจะเพียงพอในการวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตาม โรคสะเก็ดเงินอาจคล้ายกับกลากหรือโรคผิวหนังอื่นๆ และอาจต้องทำการทดสอบเพิ่มเติม อาจจำเป็นต้องเอาผิวหนังชิ้นเล็กๆ ออก (การตัดชิ้นเนื้อ)และให้นักพยาธิวิทยาตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ในกรณีดังกล่าวการตรวจชิ้นเนื้อของผื่นผิวหนังจะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ง่ายและรวดเร็วแม่นยำมากยิ่งขึ้น


3. ลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน และมีกี่ชนิด

ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงของโรคแตกต่างกัน ทั้งอวัยวะที่เป็น ขนาด ปริมาณและการกระจายตัวของผื่น ซึ่งอาการและความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินจะแสดงออกได้หลายระดับ โรคสะเก็ดเงินจำแนกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะทางคลินิกดังต่อไปนี้

3.1 ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis)

  • เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
  • รอยโรคเป็นผื่นแดงหนา
  • ขอบเขตชัด
  • ขุยหนาสีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า”โรคสะเก็ดเงิน”
  • พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่า
  • เป็นบริเวณที่มีการเสียดสี

3.2 ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis)

  • รอยโรคเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร
  • มีขุย
  • ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี
  • อาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน

3.3 ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis)

  • รอยโรคเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง
  • ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย

3.4 ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis)

  • เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง
  • ผิวหนังมีลักษณะแดง
  • มีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย
  • อาจเกิดจากการขาดยา
  • หรือมีปัจจัยกระตุ้น

3.5 สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis)

  • เป็นโรคสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคในบริเวณซอกพับของร่างกาย ได้แก่
  • รักแร้
  • ขาหนีบ
  • ใต้ราวนม เป็นต้น
  • ลักษณะเป็นผื่นแดงเรื้อรัง
  • มักไม่ค่อยมีขุย

3.6 สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis)

  • เป็นโรคสะเก็ดเงินบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า
  • ลักษณะเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน
  • ขุยลอก
  • ผื่นอาจพบลามมาบริเวณหลังมือ หลังเท้าได้

3.7 เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails)

  • ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักพบมีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย
  • ที่พบบ่อยได้แก่
  • เล็บเป็นหลุม
  • เล็บร่อน
  • เล็บหนาตัวขึ้น
  • เล็บผิดรูป

3.8 ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis)

  • ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอาจพบมีความผิดปกติการอักเสบของข้อร่วมด้วย
  • ซึ่งพบได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก
  • อาจเป็นข้อเดียว หรือ หลายข้อ
  • ส่วนใหญ่การอักเสบของมือจะเกิดที่ข้อนิ้วมือ
  • หากเป็นเรื้อรังจะทำให้เกิดการผิดรูปได้


4. วิธีการรักษาโรคสะเก็ดเงิน อาการแบบไหนต้องรีบรักษา

เป้าหมายหลักของการรักษาโรคสะเก็ดเงิน คือ ควบคุมโรคให้สงบ โดยให้มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งในแง่ของความรุนแรง การดำเนินของโรค ปัจจัยกระตุ้นโรค สภาวะจิตใจของผู้ป่วย อาชีพ อายุ เพศ แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคดังนี้

  1. สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย
  • ผื่นน้อยกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย
  • ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ1%
  • ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
  1. สะเก็ดเงินความรุนแรงมากหมายถึง
  • ผื่นมากกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย
  • พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทาน
  • ฉายแสงอาทิตย์เทียม
  • อาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียมและยาทา

4.1 การรักษาด้วยยาทา

โดยให้คนไข้ทายาที่มีสารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง การทายากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบที่ผิวหนัง นอกจากนี้ก็มียาอื่นที่ใช้ทาสลับกันเพื่อลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน เช่น

1.ยาทากลุ่มน้ำมันดิน

2.ยาทากลุ่มวิตามินดี

3.ยาทาอื่น ๆ เช่น Salicylic acid

4.2 การรักษาด้วยการฉายแสง (Phototherapy) และเลเซอร์

อาจใช้เป็นการรักษาเดี่ยวหรือแบบผสมผสานก็ได้ โดยการฉายแสงที่นิยมมีหลายชนิด เช่น

  1. UVB
  2. UBA
  3. ร่วมกับยาโซราเลน
  4. ส่วนเลเซอร์ที่ใช้คือ Excimer laser

4.3 การรักษาด้วยยารับประทานและยาฉีด

วิธีการรักษานี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงถึงรุนแรงมาก หรือมีผื่นขึ้นเยอะมากกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ผิวทั้งหมด แพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาแบบนี้ อาจจะให้ยารับประทานอย่างเดียวหรือใช้การฉีดยาร่วมด้วย สำหรับยาที่ใช้ฉีด เป็นยากลุ่มชีวโมเลกุลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เพื่อรักษาอาการของ โรคสะเก็ดเงิน โดยตรง มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน

ยาฉีดชนิดใหม่นี้ก็จะมีจุดเด่นตรงที่ว่า

  • ได้ผลดีและเห็นผลรวดเร็ว
  • มีผลข้างเคียงจากยาค่อนข้างน้อย
  • แต่ค่าใช้จ่ายค่อยข้างสูง
  • ไม่สามารถใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่น
  • ไวรัสตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบซี
  • วัณโรค


5. วิธีการป้องกันโรคสะเก็ดเงิน ที่คุณควรรู้

 เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงว่า เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

  1. พันธุกรรม
  2. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  3. ปัจจัยกระตุ้นภายนอก

ทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วผิดปกติ ดังนั้นการดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ดูแลสุขอนามัยเพื่อลดการติดเชื้อต่าง ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ทำจิตใจให้สบาย น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคสะเก็ดเงินและโรคร้ายอื่น ๆ

 

Dsecret clinic คลินิกเรารักษาด้วยความเข้าใจคุณมากที่สุด

อย่างไรก็ตามสุดท้าย Dsecret clinic คลินิก ฝากถึงผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินทุกคนว่าควรดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ส่วนผู้คนรอบข้างผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ควรศึกษาและทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้ดี โรคสะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ หากผู้ป่วยและคนรอบข้างมีความรู้และความเข้าใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องจะสามารถควบคุมโรคได้ ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าคุณต้องการรักษาโรคสะเก็ดเงินให้ผลลัพธ์ชัดเจน คุณต้องเลือก Dsecret clinic คลินิก

  • ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
  • เทคโนโลยีที่ดีที่สุด
  • โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 14 ปี
  • รักษาโดยแพทย์เฉพาะทางโดยตรง
  • เน้นที่การรักษาให้โรคสะเก็ดเงินหายจริง จนคุณใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
  • ไม่ให้ผลข้างเคียง
  • เห็นผลจริงแน่นอน

นำทีมบริหารโดย คุณกิ๊ก มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ และ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทาง จบ ปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ที่ลงมือดูแลคนไข้เองทุกเคสด้วยระดับมืออาชีพ การันตีด้วยประสบการณ์การรักษามากกว่า 10,000 เคส พร้อมผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและความประทับใจของคนไข้จริงจนต้องบอกต่อ


ประสบการณ์ มากกว่า 15 ปีของ พญ. มริญญา ผ่องผุดพันธ์

ประสบการณ์การทำงาน

  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพบาบาลรามาธิบดี
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ

ผ่านการศึกษาจาก ( Education )

  • Hair Restoration Training, Korea (2015)
  • Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
  • Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
  • Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
  • Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
  • Nail surgery training
  • Laser expert training
  • Hair expert training
  • Boton university usa

 

การค้นหาที่เกี่ยวข้อง

โรคสะเก็ดเงิน ห้ามกินอะไร
โรคสะเก็ดเงิน ติดต่อไหม
โรคสะเก็ดเงินอันตรายไหม
สะเก็ดเงิน น้ำเหลือง
กลไกการเกิดโรคสะเก็ดเงิน
สะเก็ดเงินเล็บ
ร พ รักษาโรคสะเก็ดเงิน
สะเก็ดเงิน กรรมพันธุ์

การค้นหาที่เกี่ยวข้อง

โรคสะเก็ดเงิน ห้ามกินอะไร
รักษาสะเก็ดเงิน ธรรมชาติ
โรคสะเก็ดเงินรูปภาพ
รักษาโรคสะเก็ดเงิน ที่ไหนดี
สมุนไพรรักษาสะเก็ดเงิน ศีรษะ
สะเก็ดเงิน น้ำเหลือง
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคติดต่อไหม
สะเก็ดเงิน กรรมพันธุ์

การค้นหาที่เกี่ยวข้อง

โรคสะเก็ดเงิน ห้ามกินอะไร
โรคสะเก็ดเงินอันตรายไหม
สะเก็ดเงิน เล็บ
กลไกการเกิดโรคสะเก็ดเงิน
สะเก็ดเงิน ติดต่อไหม
ร พ รักษาโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงินรูปภาพ
โรคสะเก็ดเงินที่หัว

การค้นหาที่เกี่ยวข้อง

โรงพยาบาล รักษาโรคสะเก็ดเงิน
คลินิก รักษาโรคสะเก็ดเงิน
โรงพยาบาลรักษาสะเก็ดเงิน
รักษาสะเก็ดเงิน ธรรมชาติ
ศูนย์ รักษาโรคสะเก็ดเงิน
วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินให้หายขาด
สะเก็ดเงิน ศีรษะ วิธีรักษา
ศูนย์รักษาโรคสะเก็ดเงิน ชลบุรี