หน้าแรก คลินิกรักษา โรง พยาบาล รักษา เล็บ

วิธีรักษา: โรง พยาบาล รักษา เล็บ

วิธีการรักษาโรคเล็บขบ สาเหตุเกิดจากอะไร ทำไมต้องปรึกษาแพทย์

0

1. โรคผิวหนัง – โรคเล็บขบ (Ingrown Nail) คืออะไร

เล็บขบ หรือ เล็บคุด (Ingrown Nail) คือ โรคเล็บชนิดหนึ่งซึ่งใช้อธิบายถึงภาวะที่เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนังหรือเนื้อใต้เล็บหรือบริเวณผิวหนังปลายเล็บ มีผลทำให้เกิด

  1. ความเจ็บปวด
  2. การบวม
  3. แดง
  4. เป็นหนอง
  5. บางครั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้

เล็บขบสามารถเกิดขึ้นกับนิ้วได้ทุกนิ้วทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้าซึ่งจะพบว่าเกิดได้บ่อยกับนิ้วเท้าโดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอย่างมาก และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจนำมาซึ่งการติดเชื้อได้


2. โรคเล็บขบ สาเหตุเกิดจาก อะไรได้บ้าง

โรคเล็บขบ เกิดจากปัจจัยหลายประการสาเหตุของเล็บขบที่พบได้บ่อยมีมากมายหลายอย่างมากที่ทำให้เกิด โรคเล็บขบ ขึ้นกับคุณ ไม่ว่าจะเป็น

2.1 เล็บผิดรูป

  • มักเป็นตั้งแต่กำเนิด
  • มักจะเป็นเล็บที่กว้างกว่าพื้นเล็บ
  • ขอบเล็บมีลักษณะโค้งจิกเนื้อมากกว่าปกติ
  • การมีเล็บเท้าที่กว้างกว่าปกติหรือมีรูปร่างโค้งผิดปกติ
  • รวมถึงความบกพร่องทางพันธุกรรม

2.2 อุบัติเหตุ เช่น

  • ของหล่นใส่นิ้วเท้า
  • เดินเตะของแข็ง เช่นการเดินเตะเก้าอี้ เดินชนโต๊ะ
  • มีสิ่งของที่มีน้ำหนักมากตกใส่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า

2.3 ใส่รองเท้าที่ไม่พอดี

  • ใส่รองเท้าหน้าแคบเกินไป (ทรงรองเท้าไม่เหมาะกับรูปเท้าของเรา)
  • ใส่รองเท้าที่สั้นเกินไป (เลือกรองเท้าผิดเบอร์ หรือเท้าโตขึ้นในเด็ก)
  • ผู้ที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง
  • รองเท้าประเภทที่บีบเท้าของเรามากเกินไป
  • การใส่ถุงเท้าหรือสวมรองเท้าแน่นจนเกินไป
  • จนไปกดเล็บเท้าหรือทำให้นิ้วเท้าเบียดซ้อนกัน

2.4 ตัดเล็บผิดวิธี

อันนี้น่าจะเป็นสาเหตุหลักเลยที่ใครหลายๆคนเกิดปัญหา ทำให้เกิดเป็นโรคเล็บขบได้ เช่น

  • การตัดเล็บเป็นมุมแหลมชิดเนื้อ
  • การตัดเล็บที่สั้นเกินไป
  • ตัดเล็บแบบชนิดแนบเนื้อมากเกินไป
  • การปล่อยเล็บยาวเกินไป

2.5 การเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ทำให้กระดูกนิ้วทำงานหนัก เช่น

  • ฟุตบอล
  • บาสเกตบอล
  • บัลเล่ต์

2.6 มีเชื้อราขึ้นเล็บ

  • ทำให้เล็บหนา
  • โค้งมากกว่าปกติ

2.7 การได้รับวิตามินเอมากเกินไป ก็สามารถทำให้เกิดเล็บขบได้เช่นกัน


3. อาการของเล็บขบ เป็นอย่างไรบ้าง

ผู้ป่วยที่เป็นเล็บขบมักรู้สึกเจ็บปวดบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่มีอาการ ซึ่งอาจรู้สึกเจ็บที่ด้านใดด้านหนึ่งของเล็บหรือเจ็บทั้งสองด้าน ในบางครั้งอาจพบว่ามีภาวะบวมแดงบริเวณรอบเล็บร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงจะทำให้รู้สึกเจ็บเวลาเดิน อาจมีเลือดออกหรือเป็นหนองหรือมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อที่นิ้ว รวมถึงอาจพบอาการร่วมอื่นๆ ดังนี้

3.1 เล็บขบหนอง

  • ผู้ป่วยสามารถมองเห็นก้อนหนอง
  • หรือการก่อตัวของของเหลวบริเวณรอบๆ ที่เป็นเล็บขบได้
  • ซึ่งแสดงถึงภาวะการติดเชื้อของเล็บ

3.2 เล็บขบอักเสบ

  • มีอาการบวมแดงรอบๆ เล็บมือหรือเล็บเท้า
  • ผู้ป่วยมักรู้สึกเจ็บปวดบริเวณเล็บขบทั้งสองด้าน
  • หรือด้านใดด้านหนึ่ง

3.3 เล็บขบเหม็น

  • เมื่อเป็นเล็บขบนานๆ สามารเกิดการติดเชื้อได้
  • บริเวณเนื้อมุมเล็บ
  • เนื่องจากเล็บขบจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเล็บ
  • ทำให้เชื้อต่างๆ เข้าไปอาศัย
  • และทำให้เกิดกลิ่นได้

3.4 เล็บขบมีเนื้องอก

  • เป็นลักษณะของเนื้อที่ปูดออกมาข้างเล็บ
  • ซึ่งเกิดจากการอักเสบ
  • ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

4. การวินิจฉัยเล็บขบ

แพทย์สามารถวินัจฉัยเล็บขบได้จากการตรวจดูเล็บเท้าและผิวรอบ ๆ เล็บเท้าที่มีอาการ และการตรวจร่างกายบริเวณเท้า แต่ถ้าหากนิ้วเท้าดูเหมือนมีการติดเชื้อ อาจต้องทำการเอกซเรย์เพื่อดูว่าเล็บเท้าทิ่มลงไปลึกเพียงใด นอกจากนั้นการเอกซเรย์ยังช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติมหากการเกิดเล็บขบมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • กรณีที่เล็บขบมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ
  • มีประวัติของการติดเชื้อเรื้อรัง
  • อาการเจ็บมีความรุนแรงขึ้น


5. การรักษาเล็บขบ

เล็บขบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อสามารถรักษาได้เองตามปกติ อย่างไรก็ตาม หากว่าเล็บเท้าทิ่มลงไปที่ผิวหนัง หรือมีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีอาการบวมแดงหรือเล็บมีหนอง ก็ควรทำการรักษาทางการแพทย์

5.1 การรักษาเล็บขบด้วยตัวเองเบื้องต้น ทำได้โดย

  1. แช่เท้าลงในน้ำอุ่นประมาน 15-20 นาที 3-4 ครั้ง ต่อวัน
  2. ทำให้ผิวแยกออกจากขอบของเล็บเท้าโดยใช้สำลีชุบน้ำมันมะกอก
  3. ใช้ยาบรรเทาอาการปวดในกรณีที่มีอาการเจ็บปวด
  4. การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น
  • ยาโพลิมิกซิน (Polymyxins) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ครีมสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ

หากการรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นไม่ทำให้อาการดีขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อขึ้น อาจจำเป็นต้องทำการรักษาทางการแพทย์หรือผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยวิธีหลัก ๆ ได้แก่

5.2 การรักษาทางการแพทย์หรือผ่าตัด

  1. การเอาเล็บเท้าออกบางส่วน (Partial Nail Avulsion)
  • โดยเอาชิ้นเล็บที่แทงลงไปในผิวหนังออก
  • ในขั้นตอนนี้แพทย์จะต้องใช้ยาชาที่นิ้วเท้า
  • ก่อนการตัดแต่งหรือเอาเล็บออก
  1. การเอาเล็บเท้าออกทั้งหมด (Total Nail Avulsion)
  • วิธีนี้จะใช้ในกรณีของเล็บขบที่มีเล็บหนา
  • และกดลงไปในผิวหนัง
  • โดยขั้นตอนการเอาเล็บออกทั้งเล็บนี้เรียกว่า Matrixectomy
  1. การยกเล็บขึ้น (Lifting the Nail)
  • สำหรับในรายที่เป็นน้อยแค่เพียงบวมแดง
  • ไม่มีหนอง
  • ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด
  • ในวิธีนี้แพทย์จะใช้ไหมหรือสำลียกขอบเล็บให้พ้นขอบของผิวหนัง
  • ไม่ให้เล็บงอกเข้าไปในเนื้อ

5.3 ข้อปฏิบัติหลังการรักษาทางการแพทย์หรือผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดหรือการเอาเล็บออกนั้น แพทย์จะพันผ้าพันแผลเอาไว้เพื่อซับเลือดที่ยังคงไหลซึมและป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนั้น ควรพักเท้า ไม่ควรขยับหรือเคลื่อนไหวมากเกินไป และควรยกขาให้สูงไว้ใน 1-2 วันแรกหลังผ่าตัด และเพื่อลดความเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้น อาจใช้ยาแก้ปวด เช่น

  1. ยาพาราเซตามอล
  2. ไอบูโพรเฟน
  3. ควรสวมใส่รองเท้าที่มีความนิ่ม
  4. เผยส่วนนิ้วเท้าในช่วงวันแรก ๆ หลังผ่าตัด

นอกจากนั้น แพทย์อาจให้ทาหรือรับประทานยาปฏิชีวนะและยาลดการอักเสบติดเชื้อ


6. ภาวะแทรกซ้อนของเล็บขบ เกิดจากอะไรได้บ้าง

6.1 หากปล่อยให้เป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อโดยที่ไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิด

  • การติดเชื้อในกระดูกนิ้วเท้าได้
  • การติดเชื้อที่เล็บเท้าสามารถทำให้เป็นแผลอักเสบพุพองที่เท้า
  • ขาดเลือดหมุนเวียนบริเวณที่ติดเชื้อ
  • รวมไปถึงอาจเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการติดเชื้อ

6.2 การติดเชื้อที่เท้าเป็นเรื่องที่มีความรุนแรงหากเป็นเบาหวาน ซึ่งการเป็นเล็บขบอาจกลายไปเป็นการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วเนื่องจาก

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานจะขาดการไหลเวียนโลหิตมายังบริเวณนิ้วเท้า
  • มีปัญหาชาบริเวณเท้า
  • จึงควรพบแพทย์โดยเร็วหากเป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อ

6.3 หากมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับเล็บขบ อาจทำให้สามารถเกิดเล็บขบขึ้นได้บ่อย ๆ หรือสามารถเกิดขึ้นหลาย ๆ นิ้วพร้อมกันในหนึ่งครั้งได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น

  • มีความเจ็บปวด
  • การติดเชื้อ
  • อาการเจ็บปวดอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับเท้า
  • ที่ต้องรับการรักษาหรือการผ่าตัดหลายประการ

7. อาการที่บ่งบอก ว่าคุณควรพบแพทย์ เพื่อรักษาเล็บขบ

Dsecret clinic คลินิก ให้บริการดูแลรักษาโรคเล็บขบหายขาดมามากกว่า 10,000 เดส หากคุณพบว่าเล็บเท้าของคุณทิ่มลงไปที่ผิวหนังหรือมีสัญญาณของการติดเชื้อต่างๆ เช่น

  • มีอาการบวมแดง
  • มีหนอง

ควรรับการรักษาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่ควรทำการรักษาเล็บขบด้วยตนเองเนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้ Dsecret clinic คลินิก เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทาง จบ ปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ที่ลงมือดูแลคนไข้เองทุกเคสด้วยระดับมืออาชีพ การันตีด้วยประสบการณ์การรักษามากกว่า 10,000 เคส พร้อมผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและความประทับใจของคนไข้จริงจนต้องบอกต่อ เรามี

  • แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ
  • ไว้พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาคุณในทุกๆ เรื่อง
  • เพราะเราใส่ใจในความรู้สึกและปัญหาของคุณ
  • เรารักษาด้วยเทคโนโลยีล่าสุดของการรักษาเล็บขบ
  • เน้นที่การรักษาให้หายขาด

เราพร้อมให้บริการที่ยอดเยี่ยม มีทีมงานคอยบริการคุณทุกคนอย่างดี ใส่ใจคนไข้ทุกคนไม่ว่าปัญหาของคุณจะเล็กมากแค่ไหนแต่นั้นคือเรื่องสำคัญของเราเสมอ


ประสบการณ์ มากกว่า 15 ปีของ พญ. มริญญา ผ่องผุดพันธ์

ประสบการณ์การทำงาน

  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
  • อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพบาบาลรามาธิบดี
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
  • แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ

ผ่านการศึกษาจาก ( Education )

  • Hair Restoration Training, Korea (2015)
  • Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
  • Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
  • Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
  • Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
  • Nail surgery training
  • Laser expert training
  • Hair expert training
  • Boton university usa